วันพุธที่ 28 ธันวาคม พ.ศ. 2554

การออกแบบและนำเสนอด้วยสื่อดิจิทัลและสื่อประสม

การออกแบบและนำเสนอวีดิทัศน์หนังสั้นอย่างสร้างสรรค์









หนังสั้น หมายถึง เรื่องที่นำเสนอทั้งภาพและเสียงและในระยะเวลาอันจำกัดประมาณ 5-10 นาที โดยสะท้อนเรื่องราว สาระที่เกิดขึ้นและจบลงอย่างรวดเร็ว

ขั้นตอนการผลิตหนังสั้น

1. ขั้นเตรียมการผลิต (Pre-Production)
• 1.1 สำรวจความต้องการและวิเคราะห์ปัญหา
• 1.2 วิเคราะห์เนื้อหาและกำหนดเรื่อง
• 1.3 เขียนบทวีดิทัศน์
• 1.4 วางแผนการถ่ายทำ
2. ขั้นการผลิต (Production)
คือ การถ่ายทำวีดิทัศน์เป็นการบันทึกภาพวีดิทัศน์ ตามบทวีดิทัศน์ที่ได้เขียนไว้ ในการถ่ายทำควรจะต้อง
ศึกษาบทวีดิทัศน์อย่างละเอียด ถ่ายทำให้ได้ภาพครบตามที่ต้องการ
3. ขั้นหลังการผลิต (Post-Production)
คือ การตัดต่อลำดับภาพ ในขั้นนี้ถือว่าเป็นสุดท้ายของการผลิต เป็นขั้นสำคัญอีกขั้นหนึ่งที่ต้องมีความละเอียดรอบคอบทั้งทางด้านภาพและเสียง โดยการนำภาพต่างๆ เสียง กราฟิก มาเรียบเรียงลำดับให้เป็นเรื่องราวตามบทวีดิทัศน์ที่กำหนดไว้ พร้อมทั้งการแก้ไข ปรับแต่งให้มีความเหมาะสม สวยงาม 
น่าสนใจติดตาม และจะต้องคำนึงถึงรูปแบบของสื่อที่จะเผยแพร่อีกด้วย
4. ขั้นการประเมินผล (Evaluation)
การประเมินผล เป็นการประเมินผลสื่อ เมื่อได้ผลิตรายการวีดิทัศน์มาแล้วต้องนำไปใช้กับกลุ่มเป้าหมายจริงจำนวนหนึ่ง เพื่อนำข้อมูลต่างๆ มาปรับปรุงแก้ไขตามที่เห็นสมควร เพื่อให้วีดิทัศน์มีคุณภาพก่อนจะนำไปเผยแพร่ต่อไป

5. ขั้นเผยแพร่
การเผยแพร่ ในการเผยแพร่วีดิทัศน์ ควรมีรูปแบบที่หลากหลาย เพื่อให้เข้าถึงเป้าหมายให้ได้มากที่สุด เท่าที่จะทำได้ และควรเก็บข้อมูล ข้อแนะนำต่างๆ จากผู้ใช้ เพื่อนำมาแก้ไขในเรื่องอื่นต่อไป




การเขียนบทวีดิทัศน์

บทวีดิทัศน์ คือ เป็นข้อเขียนหรือรายละเอียดที่เขียนขึ้นเพื่อใช้เป็นตัวกำหนดแนวทาง ในการดำเนินการผลิตรายการวีดิทัศน์ และสื่อความหมายให้ทุกฝ่ายเข้าใจได้ตรงกันและสื่อความหมายได้ตรงตามวัตถุประสงค์

บทวีดิทัศน์แบ่งออกเป็น 4 แบบใหญ่ๆ ได้แก่


 
1. บทวีดิทัศน์แบบสมบูรณ์ (Fully script) เป็นบทที่บอกทุกสิ่งทุกอย่างไว้

2. บทวีดิทัศน์กึ่งสมบูรณ์ (Semi script )เป็นบทที่วางแนวทางของเรื่องไว้

3. บทวีดิทัศน์บอกเฉพาะรูปแบบ (Rundown sheet )
บทโทรทัศน์ประเภทนี้ เขียนเพียงคำสั่งของส่วนต่างๆที่สำคัญในรายการฉากที่สำคัญๆ

4. บทวีดิทัศน์แบบร่างกำหนดการของรายการ บทโทรทัศน์ประเภทนี้จะแสดงเพียงเค้าโครง
ของรายการในลักษณะร่างลำดับของรายการตั้งแต่เริ่มต้นจบรายการ


องค์ประกอบที่สำคัญของบทวีดิทัศน์
 
1. ส่วนที่นำเข้าสู่เรื่องหรือแนะนำเรื่อง (introduction) เป็นตอนต้นของเรื่อง 
ให้ผู้ชมสนใจเรื่องราวต่างๆ ที่จะบอกเล่า
2. ส่วนที่เป็นการดำเนินเรื่อง เป็นส่วนที่บอกถึงเรื่องนั้นๆว่าดำเนินอย่างไร (development) 
3. ส่วนที่เป็นแก่นของเรื่อง เป็นส่วนที่สำคัญที่สุด ส่วนที่จะเปิดเผยเรื่อง (climax) 
4. เป็นส่วนที่สรุป เมื่อเสนอเรื่องนั้นจบแล้ว บางครั้งอาจจะให้ผู้ดูสรุปเอง ขึ้นอยู่กับการออกแบบรายการ

หลักการเขียนบทวิดีทัศน์ที่ดี

1. บทวีดิทัศน์ควรมีแก่นเรื่อง (Theme) เพื่อให้เรื่องมีเอกภาพ (Unity)
2. มีการวางโครงเรื่องที่ดี (Out line) น่าสนใจให้ติดตาม
3. ควรเลือกรูปแบบของบทให้เหมาะสมกับเนื้อหาของเรื่อง
4. ภาษาที่ใช้ควรมีความสละสลวยเข้าใจง่ายใช้ภาษาเพื่อการฟังมิใช่ภาษาเพื่อการอ่าน
5. ภาพและเสียงควรมีความสัมพันธ์กัน (relation of sound and picture)
6. ภาพและเสียงของแต่ละช่วงตอนต้องมีความต่อเนื่องกัน
7. คำนึงถึงจำนวนเวลาของรายการ ความยาวของบทต้องสอดคล้องกับเวลาที่มี
8. ผู้เขียนบทควรประสานแนวคิดกับเจ้าของเรื่อง เพื่อให้ได้เนื้อเรื่องที่ถูกต้องสมบูรณ์
9. ขณะที่มีการผลิตรายการผู้เขียนบทควรสังเกตการณ์จากจอมอนิเตอร์ว่าภาพและเสียงที่ปรากฏนั้นเป็นไปตามจินตนาการที่คิดไว้หรือไม่ ถ้าไม่ดีอย่างที่คิด อาจจะให้ข้อคิดเห็นแก่ผู้กำกับเพื่อช่วยกันปรับปรุงแก้ไข
10. เมื่อขั้นตอนการผลิตเสร็จสิ้นลง ตามปกติจะมีการประชุมดูผลงาน เพื่อประเมินผู้เขียนบทต้องเข้าร่วมประเมินคุณภาพของรายการด้วย
 

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น