วันอังคารที่ 13 ธันวาคม พ.ศ. 2554

องค์ประกอบในการออกแบบสื่อสร้างสรรค์

องค์ประกอบในการออกแบบ (DESIGN ELEMENTS )


1. จุด (Point)

จะเป็นจุดที่ชี้ให้เห็น ตาแหน่งในที่ว่าง หรือที่ต่างๆ ไม่มีความกว้าง ความยาวความลึก จุดให้ความรู้สึกคงที่ ไม่มีทิศทาง ไม่ครอบคลุมพื้นที่ จุดจะเกิดอยู่ในบริเวณต่างๆ


2. เส้น (Line)

เส้นเกิดจากการนาจุดหลายๆจุดมาเรียงต่อกันหรือเกิดจากจุดเคลื่อนที่เส้นทางที่จุดเคลื่อนที่ไปคือเส้นมีความยาวไม่มีความกว้างหรือความหนามากการกาหนดทิศทางของเส้นให้อยู่ในแนวที่ต่างกันจะให้ความรู้สึกที่ต่างกันดูมั่นคงบางครั้งดูเคลื่อนไหวและเจริญงอกงามเติบโต



3. เส้นตั้ง (Vertical Line)

ให้ความรู้สึกสูงสง่า แข็งแรง มั่นคง ถ้าสูงมาก ๆ ก็จะให้ความ รู้สึกไม่ปลอดภัย แต่จะบอกความเติบโต ถ้านามาประยุกต์ในการแต่งกาย โดยใส่เสื้อ ลายแนวเส้นตั้งฉาก แนวดิ่ง จะช่วยให้ดูสูงขึ้น และถ้าออกแบบให้ดูผอมลง อาจใช้เพียง2-3 เส้น


4. เส้นนอน (Horizontal Line)

ให้ความรู้สึกสงบ ราบเรียบ แน่นอน มั่นคง ปลอดภัย ความนิ่ง พักผ่อนเป็นธรรมชาติ

5. เส้นเฉียง (Oblique Line)

ให้ความรู้สึกไม่มั่นคงไม่ปลอดภัย ตื่นต้น สนุกสนานแสดงการเคลื่อนที่ ไม่อยู่นิ่ง

6.เส้นโค้ง (Curve)

 จะให้ความรู้สึกเคลื่อนไหว นุ่มนวล อ่อนหวาน เชื่องช้า กระชับและเป็นอันหนึ่งอันเดียว

7. เส้นกระจาย

เป็นเส้นที่ออกจากจุดศูนย์กลางให้ความรู้สึก มีพลังกระปรี้กระเปร่า สร้างสรรค์ เดินทางออกไปทุกทิศพร้อมๆกัน พองออก แตกตัว
8.เส้นลักษณะอื่นๆ

เช่น เส้นหยัก เส้นประ เส้นจุดผสมเส้นประ ต่างก็ให้ความรู้แตกต่างกันออกไป ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับว่า จะนาไปประกอบกับรูปอะไร

3. ทิศทาง (DIRECTION)


ทิศทางคือลักษณะที่แสดงให้รู้ว่ารูปแบบทั้งหมดมีแนวโน้มไปทางใดทาให้ผู้พบเห็นเกิดความรู้สึกว่ามีการเคลื่อนไหว(Movement) น่าไปสู่จุดสนใจ

4. รูปทรง (FORM)

เกิดจากระนาบที่ปิดล้อมกันทาให้เกิดปริมาตร(Volume) มี3 มิติคือความกว้างความยาวและความสูงแบ่งออกเป็น2 ชนิดคือรูปทรงเรขาคณิตและรูปทรงธรรมชาติ


4.1 รูปทรงเรขาคณิต ( Geometric Form )

เป็นรูปทรงที่มีด้านแต่ละด้านคล้ายกัน มีความสัมพันธ์กันอย่างเป็นระเบียบ มีแกนที่สมดุล มักจะประกอบด้วยเส้นตรงและเส้นโค้ง ที่มีแบบแผน

4.2 รูปทรงธรรมชาติ ( Original Form)
 
มักจะประกอบด้วยเส้นโค้ง (Curves) เส้นอิสระ ทั้งอยู่ในลักษณะสมดุลและไม่สมดุล รูปทรงธรรมชาติจะให้ความรู้สึกอ่อนไหว

4.3 รูปทรงอิสระ (Free Form)

รูปด้านแต่ละด้านมักจะไม่สัมพันธ์กัน ไม่มีความสมดุล ไม่เป็นระเบียบ ให้ความรู้สึกเคลื่อนไหวได้


เทคนิคการกลับพื้นภาพมีผลต่อสายตาผู้ดู

จากการออกแบบกลับพื้นภาพทาให้เกิดการสร้างสรรค์งานเป็นสัญลักษณ์(Logo) และเป็นที่นิยมเพราะมีความแปลกใหม่น่าสนใจนอกจากนี้ยังมีผลของการมองเห็นว่าภาพสีขาวที่อยู่ในพื้นสีดาจะทาให้ดูโตขึ้น10-15 % สังเกตภาพตัวอักษรA ในข้อที่6 ตัวอักษรดาและขาวโตเท่ากันในการทาต้นแบบเมื่อตัวA อีกตัวหนึ่งไปอยู่ในพื้นดาทาให้ดูโตกว่าเทคนิคนี้นิยมนาไปใช้ทาตัวอักษรพาดหัวข่าวสาคัญในหน้าหนึ่งของหนังสือพิมพ์

6. ขนาดและสัดส่วน (Size & Scale)


ขนาดคือการเปรียบเทียบรูปร่างหรือรูปทรงการวัดสัดส่วนระยะหรือขอบเขตของรูปร่างนั้นๆสัดส่วน(Scale) สัดส่วนคือความเหมาะสมของสิ่งของตั้งแต่2 สิ่งขึ้นไปมีความสัมพันธ์กันการหาความสัมพันธ์ของขนาดและสัดส่วนในการออกแบบต้องคานึงถึงขนาดและสัดส่วนของผู้ใช้และกิจกรรมภายในเป็นหลัก


7. วัสดุและพื้นผิว (Material and Texture )


วัสดุ (Material) วัสดุคือวัตถุดิบที่จะนามาใช้ในการออกแบบโดยเลือกความเหมาะสมตรงตามลักษณะของงานถ้าทาลงบนกระดาษวาดเขียนอาจเป็นรูปลอกลวดลายต่างๆแบบทึบแสงถ้าทาลงบนแผ่นโปร่งใสก็ใช้รูปหรืออักษรลอกแบบสีโปร่งแสงเป็นต้น
พื้นผิว (Texture) พื้นผิวคือลักษณะเฉพาะที่เกิดจากโครงสร้างของวัสดุอาจนาวัตถุดิบหลายๆอย่างมาสร้างให้เกิดพื้นผิวใหม่หรือความรู้สึกในการแยกจาแนกความเรียบความขรุขระความแตกต่างของพื้นผิวในทางกราฟิกสามารถแยกออกได้ด้วยประสาทสัมผัสทางตาเป็นส่วนใหญ่พื้นผิวที่แตกต่างกันจะให้ความรู้สึกต่างกัน


ระนาบ (Plane)

ระนาบคือเส้นที่ขยายออกไปในทางเดียวกันจนเกิดเป็นพื้นที่ขึ้นมาแบ่งได้ดังนี้
1. Overhead plane ระนาบที่อยู่เหนือศีรษะอยู่ข้างบนให้ความรู้สึกปลอดภัยเหมือนมีหลังคาคลุมมีสิ่งปกป้องจากด้านบน
2. Vertical plane ระนาบแนวตั้งหรือตัวปิดล้อมเป็นส่วนบอกขอบเขตที่ว่างตามแนวนอนความกว้างความยาว
3. Base plane ระนาบพื้นระดับดินหรือระดับเสมอสายตาอาจมีการเปลี่ยนหรือเล่นระดับเพื่อให้เกิดความรู้สึกต่างๆ


หลักและวิธีในการใช้การเน้น

เน้นด้วยการใช้หลักเรื่อง Contrast

-เน้นด้วยการประดับ
-เน้นด้วยการจัดกลุ่มในส่วนที่ต้องการเน้น
-เน้นด้วยการใช้สี
-เน้นด้วยขนาด
-เน้นด้วยการทาจุดรวมสายตา


3. เอกภาพ (Unity)


ความเป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน เป็นกลุ่มเป็นก้อน โดยที่องค์ประกอบภายในต้องกลมกลืนกันมี 2 แบบคือ

- เอกภาพแบบหยุดนิ่ง(Static unity) โดยใช้รูปทรงเรขาคณิตทาให้เกิดลักษณะหนักแน่น

- เอกภาพแบบเคลื่อนไหว (Dynamic unity) ใช้รูปทรงหรือรูปร่างแบบธรรมชาติทาให้เคลื่อนไหวสนุกสนาน

4. ความกลมกลืน (Harmony)



การจัดองค์ประกอบที่ใกล้เคียงกันหรือคล้ายๆกันมาจัดภาพทาให้เกิดความนุ่มนวลกลมกลืนกันมี3 แบบคือ

4.1 กลมกลืนในด้านประโยชน์ใช้สอย คือ ทำให้เป็นชุดเดียวกัน

4.2 กลมกลืนในความหมาย เช่น การออกแบบเครื่องหมายการค้า& โลโก้
4.3 กลมกลืนในองค์ประกอบ ได้แก่

4.3.1 กลมกลืนด้วยเส้น-ทิศทาง

4.3.2 กลมกลืนด้วยรูปทรง-รูปร่าง

4.3.3 กลมกลืนด้วยวัสดุ

4.3.4 พื้นผิว

4.3.5 กลมกลืนด้วยสี มักใช้โทรสีที่ใกล้กัน

4.3.6 กลมกลืนด้วยขนาด-สัดส่วน

4.3.7 กลมกลืนด้วยน้าหนัก


5.ความขัดแย้ง (Contrast)


การจัดองค์ประกอบให้เกิดความแตกต่างเพื่อดึงดูดความสนใจหรือให้เกิดความสนุกตื่นเต้นน่าสนใจลดความเรียบน่าเบื่อให้ความรู้สึกฝืนใจขัดใจแต่ชวนมอง

6. จังหวะ(Rhythm)



จังหวะเกิดจากการต่อเนื่องกันหรือซ้าซ้อนกันจังหวะที่ดีทาให้ภาพดูสนุกเปรียบได้กับเสียงเพลงอันไพเราะในด้านการออกแบบแบ่งจังหวะเป็น3 แบบ


6.1 จังหวะแบบเหมือนกันซ้าๆกัน
เป็นการนาเอาองค์ประกอบหรือรูปที่เหมือน ๆ กัน มาจัดวางเรียงต่อกัน ทาให้ดูมีระเบียบ (Order) เป็นทางการ การออกแบบลายต่อเนื่อง เช่น ลายเหล็กดัด ลายกระเบื้องปูพื้นหรือผนัง ลายผ้า เป็นต้น


6.2 จังหวะสลับกันไปแบบคงที่
เป็นการนาองค์ประกอบหรือรูปที่ต่างกันมาวางสลับกันอย่างต่อเนื่องเป็นชุดเป็นช่วงให้ความรู้สึกเป็นระบบสม่าเสมอความแน่นอน


6.3 จังหวะสลับกันไปแบบไม่คงที่
เป็นการนาองค์ประกอบหรือรูปที่ต่างกันมาวางสลับกัน อย่างอิสระ ทั้งขนาด ทิศทาง ระยะห่าง ให้ความรู้สึกสนุกสนาน


6.4 จังหวะจากเล็กไปใหญ่หรือจากใหญ่ไปเล็ก
เป็นการนารูปที่เหมือนกัน มาเรียงต่อกัน แต่มีขนาดต่างกันโดยเรียงจากเล็กไปใหญ่หรือจากใหญ่ไปเล็กอย่างต่อ เนื่องทาให้ภาพมีความลึก มีมิติ



7. ความง่าย (Simplicity)

เป็นการจัดให้ดูโล่งสบายตาไม่ยุ่งยากซับซ้อนมีมโนทัศน์เดียวลดการมีฉากหลังหรือภาพประกอบอื่นๆที่ไม่จาเป็นหรือไม่เกี่ยวข้องออกไปเพราะการมีฉากหลังรกทาให้ภาพหลักไม่เด่นนิยมใช้ในการถ่ายภาพที่ปรับฉากหลังให้เบลอเป็นภาพเกี่ยวกับดอกไม้แมลงสัตว์และบุคคลนางแบบเป็นต้น

8. ความลึก (Perspective)
 

ให้ภาพดูสมจริงคือภาพวัตถุใดอยู่ใกล้จะใหญ่ถ้าอยู่ไกลออกไปจะมองเห็นเล็กลงตามลาดับจนสุดสายตาซึ่งมีมุมมองหลักๆอยู่3 ลักษณะคือวัตถุอยู่สูงกว่าระดับตาวัตถุอยู่ในระดับสายตาและวัตถุอยู่ต่ากว่าระดับสายตา

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น