วันเสาร์ที่ 31 ธันวาคม พ.ศ. 2554

การออกแบบและนำเสนอผ่านสื่อโปสเตอร์

โปสเตอร์ (Poster)
 
 
 
 
 
โปสเตอร์ (Poster) 

โปสเตอร์ (Poster)หมายถึง สิ่งพิมพ์ที่ที่เป็นแผ่นเดียวมีขนาดใหญ่หรือเล็กแล้วแต่ผู้จัดทำ ใช้ติดตามสถานที่ต่าง ๆ ในแนวตั้ง เช่น ผนัง ตู้กระจก เสาไฟฟ้า ฯลฯ มีเนื้อหาสาระเพื่อการโฆษณาประชาสัมพันธ์สินค้าหรือบริการหรืองานอื่นๆที่ต้องการเรียกร้องความสนใจ ส่วนใหญ่แล้วมักนำเสนอเพียงแนวความคิดเดียวเป็นหลักใหญ่


ประโยชน์ของโปสเตอร์

ประโยชน์ของโปสเตอร์อาจมีหลายจุดประสงค์ เช่น

1.โดยส่วนมากจะเป็นเครื่องมือในการโฆษณา ประชาสัมพันธ์ ไม่ว่าจะเป็นโฆษณาสินค้า/บริการ งานต่างๆ งานดนตรี ภาพยนตร์
2. เพื่อใช้ในการศึกษานำเสนอสาระใดสารหนึ่ง
3. เพื่อเป็นสื่อการสอนอธิบายเรื่องราวต่าง ๆ
4. นำเสนอผลงานทางวิชาการ


ลักษณะของภาพโปสเตอร์ที่ดี

1. รูปแบบต้องสอดคล้องกับเนื้อหาและกลุ่มเป้าหมายที่วางไว้
2. มีลักษณะ เด่นชัด มองเห็นสะดุดตา
3. ข้อความนั้นต้องสั้น กระชับได้ใจความ
4. รูปภาพเร้าความสนใจ ชวนติดตาม
5. มีการสื่อความหมายได้ตามวัตถุประสงค์
6. แสดงออกถึงความคิดสร้างสรรค์
7. มีขนาดใหญ่พอที่จะมองเห็นได้ในระยะไกล
8. ในเรื่องการนำเสนอต้องมีข้อมูลเพียงเรื่องเดียวและที่สำคัญตรงประเด็น


ส่วนประกอบของโปสเตอร์

1. ข้อความพาดหัว
2. รายละเอียด
3. รูปภาพประกอบ
4. คำขวัญ/สโลแกนเพื่อจูงใจ/ข้อความลงท้าย
5. โลโก้ของหน่วยงานเจ้าของโปสเตอร์
6. อื่น ๆ


หลักการออกแบบโปสเตอร์

1. ตัวอักษรต้องตัดกับพื้นหลัง
2. ไม่ควรใส่ข้อความแน่นหรือมีจำนวนมากเกินไป
3. ควรคำนึงถึงหลักทฤษฎีสีและศิลปะในการออกแบบ
4. ควรเว้นระยะขอบประมาณ 0.5 ซ.ม.
5. เลือกภาพให้เหมาะสมกับเนื้อหา

 ข้อควรคำนึงในการเลือกกระดาษพิมพ์

1. งบประมาณ
2. จำนวนพิมพ์
3. ระบบของเครื่องพิมพ์
4. วัตถุประสงค์ในการนำไปใช้

วันพุธที่ 28 ธันวาคม พ.ศ. 2554

การออกแบบและนำเสนอด้วยสื่อดิจิทัลและสื่อประสม

การออกแบบและนำเสนอวีดิทัศน์หนังสั้นอย่างสร้างสรรค์









หนังสั้น หมายถึง เรื่องที่นำเสนอทั้งภาพและเสียงและในระยะเวลาอันจำกัดประมาณ 5-10 นาที โดยสะท้อนเรื่องราว สาระที่เกิดขึ้นและจบลงอย่างรวดเร็ว

ขั้นตอนการผลิตหนังสั้น

1. ขั้นเตรียมการผลิต (Pre-Production)
• 1.1 สำรวจความต้องการและวิเคราะห์ปัญหา
• 1.2 วิเคราะห์เนื้อหาและกำหนดเรื่อง
• 1.3 เขียนบทวีดิทัศน์
• 1.4 วางแผนการถ่ายทำ
2. ขั้นการผลิต (Production)
คือ การถ่ายทำวีดิทัศน์เป็นการบันทึกภาพวีดิทัศน์ ตามบทวีดิทัศน์ที่ได้เขียนไว้ ในการถ่ายทำควรจะต้อง
ศึกษาบทวีดิทัศน์อย่างละเอียด ถ่ายทำให้ได้ภาพครบตามที่ต้องการ
3. ขั้นหลังการผลิต (Post-Production)
คือ การตัดต่อลำดับภาพ ในขั้นนี้ถือว่าเป็นสุดท้ายของการผลิต เป็นขั้นสำคัญอีกขั้นหนึ่งที่ต้องมีความละเอียดรอบคอบทั้งทางด้านภาพและเสียง โดยการนำภาพต่างๆ เสียง กราฟิก มาเรียบเรียงลำดับให้เป็นเรื่องราวตามบทวีดิทัศน์ที่กำหนดไว้ พร้อมทั้งการแก้ไข ปรับแต่งให้มีความเหมาะสม สวยงาม 
น่าสนใจติดตาม และจะต้องคำนึงถึงรูปแบบของสื่อที่จะเผยแพร่อีกด้วย
4. ขั้นการประเมินผล (Evaluation)
การประเมินผล เป็นการประเมินผลสื่อ เมื่อได้ผลิตรายการวีดิทัศน์มาแล้วต้องนำไปใช้กับกลุ่มเป้าหมายจริงจำนวนหนึ่ง เพื่อนำข้อมูลต่างๆ มาปรับปรุงแก้ไขตามที่เห็นสมควร เพื่อให้วีดิทัศน์มีคุณภาพก่อนจะนำไปเผยแพร่ต่อไป

5. ขั้นเผยแพร่
การเผยแพร่ ในการเผยแพร่วีดิทัศน์ ควรมีรูปแบบที่หลากหลาย เพื่อให้เข้าถึงเป้าหมายให้ได้มากที่สุด เท่าที่จะทำได้ และควรเก็บข้อมูล ข้อแนะนำต่างๆ จากผู้ใช้ เพื่อนำมาแก้ไขในเรื่องอื่นต่อไป




การเขียนบทวีดิทัศน์

บทวีดิทัศน์ คือ เป็นข้อเขียนหรือรายละเอียดที่เขียนขึ้นเพื่อใช้เป็นตัวกำหนดแนวทาง ในการดำเนินการผลิตรายการวีดิทัศน์ และสื่อความหมายให้ทุกฝ่ายเข้าใจได้ตรงกันและสื่อความหมายได้ตรงตามวัตถุประสงค์

บทวีดิทัศน์แบ่งออกเป็น 4 แบบใหญ่ๆ ได้แก่


 
1. บทวีดิทัศน์แบบสมบูรณ์ (Fully script) เป็นบทที่บอกทุกสิ่งทุกอย่างไว้

2. บทวีดิทัศน์กึ่งสมบูรณ์ (Semi script )เป็นบทที่วางแนวทางของเรื่องไว้

3. บทวีดิทัศน์บอกเฉพาะรูปแบบ (Rundown sheet )
บทโทรทัศน์ประเภทนี้ เขียนเพียงคำสั่งของส่วนต่างๆที่สำคัญในรายการฉากที่สำคัญๆ

4. บทวีดิทัศน์แบบร่างกำหนดการของรายการ บทโทรทัศน์ประเภทนี้จะแสดงเพียงเค้าโครง
ของรายการในลักษณะร่างลำดับของรายการตั้งแต่เริ่มต้นจบรายการ


องค์ประกอบที่สำคัญของบทวีดิทัศน์
 
1. ส่วนที่นำเข้าสู่เรื่องหรือแนะนำเรื่อง (introduction) เป็นตอนต้นของเรื่อง 
ให้ผู้ชมสนใจเรื่องราวต่างๆ ที่จะบอกเล่า
2. ส่วนที่เป็นการดำเนินเรื่อง เป็นส่วนที่บอกถึงเรื่องนั้นๆว่าดำเนินอย่างไร (development) 
3. ส่วนที่เป็นแก่นของเรื่อง เป็นส่วนที่สำคัญที่สุด ส่วนที่จะเปิดเผยเรื่อง (climax) 
4. เป็นส่วนที่สรุป เมื่อเสนอเรื่องนั้นจบแล้ว บางครั้งอาจจะให้ผู้ดูสรุปเอง ขึ้นอยู่กับการออกแบบรายการ

หลักการเขียนบทวิดีทัศน์ที่ดี

1. บทวีดิทัศน์ควรมีแก่นเรื่อง (Theme) เพื่อให้เรื่องมีเอกภาพ (Unity)
2. มีการวางโครงเรื่องที่ดี (Out line) น่าสนใจให้ติดตาม
3. ควรเลือกรูปแบบของบทให้เหมาะสมกับเนื้อหาของเรื่อง
4. ภาษาที่ใช้ควรมีความสละสลวยเข้าใจง่ายใช้ภาษาเพื่อการฟังมิใช่ภาษาเพื่อการอ่าน
5. ภาพและเสียงควรมีความสัมพันธ์กัน (relation of sound and picture)
6. ภาพและเสียงของแต่ละช่วงตอนต้องมีความต่อเนื่องกัน
7. คำนึงถึงจำนวนเวลาของรายการ ความยาวของบทต้องสอดคล้องกับเวลาที่มี
8. ผู้เขียนบทควรประสานแนวคิดกับเจ้าของเรื่อง เพื่อให้ได้เนื้อเรื่องที่ถูกต้องสมบูรณ์
9. ขณะที่มีการผลิตรายการผู้เขียนบทควรสังเกตการณ์จากจอมอนิเตอร์ว่าภาพและเสียงที่ปรากฏนั้นเป็นไปตามจินตนาการที่คิดไว้หรือไม่ ถ้าไม่ดีอย่างที่คิด อาจจะให้ข้อคิดเห็นแก่ผู้กำกับเพื่อช่วยกันปรับปรุงแก้ไข
10. เมื่อขั้นตอนการผลิตเสร็จสิ้นลง ตามปกติจะมีการประชุมดูผลงาน เพื่อประเมินผู้เขียนบทต้องเข้าร่วมประเมินคุณภาพของรายการด้วย
 

วันอังคารที่ 13 ธันวาคม พ.ศ. 2554

องค์ประกอบในการออกแบบสื่อสร้างสรรค์

องค์ประกอบในการออกแบบ (DESIGN ELEMENTS )


1. จุด (Point)

จะเป็นจุดที่ชี้ให้เห็น ตาแหน่งในที่ว่าง หรือที่ต่างๆ ไม่มีความกว้าง ความยาวความลึก จุดให้ความรู้สึกคงที่ ไม่มีทิศทาง ไม่ครอบคลุมพื้นที่ จุดจะเกิดอยู่ในบริเวณต่างๆ


2. เส้น (Line)

เส้นเกิดจากการนาจุดหลายๆจุดมาเรียงต่อกันหรือเกิดจากจุดเคลื่อนที่เส้นทางที่จุดเคลื่อนที่ไปคือเส้นมีความยาวไม่มีความกว้างหรือความหนามากการกาหนดทิศทางของเส้นให้อยู่ในแนวที่ต่างกันจะให้ความรู้สึกที่ต่างกันดูมั่นคงบางครั้งดูเคลื่อนไหวและเจริญงอกงามเติบโต



3. เส้นตั้ง (Vertical Line)

ให้ความรู้สึกสูงสง่า แข็งแรง มั่นคง ถ้าสูงมาก ๆ ก็จะให้ความ รู้สึกไม่ปลอดภัย แต่จะบอกความเติบโต ถ้านามาประยุกต์ในการแต่งกาย โดยใส่เสื้อ ลายแนวเส้นตั้งฉาก แนวดิ่ง จะช่วยให้ดูสูงขึ้น และถ้าออกแบบให้ดูผอมลง อาจใช้เพียง2-3 เส้น


4. เส้นนอน (Horizontal Line)

ให้ความรู้สึกสงบ ราบเรียบ แน่นอน มั่นคง ปลอดภัย ความนิ่ง พักผ่อนเป็นธรรมชาติ

5. เส้นเฉียง (Oblique Line)

ให้ความรู้สึกไม่มั่นคงไม่ปลอดภัย ตื่นต้น สนุกสนานแสดงการเคลื่อนที่ ไม่อยู่นิ่ง

6.เส้นโค้ง (Curve)

 จะให้ความรู้สึกเคลื่อนไหว นุ่มนวล อ่อนหวาน เชื่องช้า กระชับและเป็นอันหนึ่งอันเดียว

7. เส้นกระจาย

เป็นเส้นที่ออกจากจุดศูนย์กลางให้ความรู้สึก มีพลังกระปรี้กระเปร่า สร้างสรรค์ เดินทางออกไปทุกทิศพร้อมๆกัน พองออก แตกตัว
8.เส้นลักษณะอื่นๆ

เช่น เส้นหยัก เส้นประ เส้นจุดผสมเส้นประ ต่างก็ให้ความรู้แตกต่างกันออกไป ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับว่า จะนาไปประกอบกับรูปอะไร

3. ทิศทาง (DIRECTION)


ทิศทางคือลักษณะที่แสดงให้รู้ว่ารูปแบบทั้งหมดมีแนวโน้มไปทางใดทาให้ผู้พบเห็นเกิดความรู้สึกว่ามีการเคลื่อนไหว(Movement) น่าไปสู่จุดสนใจ

4. รูปทรง (FORM)

เกิดจากระนาบที่ปิดล้อมกันทาให้เกิดปริมาตร(Volume) มี3 มิติคือความกว้างความยาวและความสูงแบ่งออกเป็น2 ชนิดคือรูปทรงเรขาคณิตและรูปทรงธรรมชาติ


4.1 รูปทรงเรขาคณิต ( Geometric Form )

เป็นรูปทรงที่มีด้านแต่ละด้านคล้ายกัน มีความสัมพันธ์กันอย่างเป็นระเบียบ มีแกนที่สมดุล มักจะประกอบด้วยเส้นตรงและเส้นโค้ง ที่มีแบบแผน

4.2 รูปทรงธรรมชาติ ( Original Form)
 
มักจะประกอบด้วยเส้นโค้ง (Curves) เส้นอิสระ ทั้งอยู่ในลักษณะสมดุลและไม่สมดุล รูปทรงธรรมชาติจะให้ความรู้สึกอ่อนไหว

4.3 รูปทรงอิสระ (Free Form)

รูปด้านแต่ละด้านมักจะไม่สัมพันธ์กัน ไม่มีความสมดุล ไม่เป็นระเบียบ ให้ความรู้สึกเคลื่อนไหวได้


เทคนิคการกลับพื้นภาพมีผลต่อสายตาผู้ดู

จากการออกแบบกลับพื้นภาพทาให้เกิดการสร้างสรรค์งานเป็นสัญลักษณ์(Logo) และเป็นที่นิยมเพราะมีความแปลกใหม่น่าสนใจนอกจากนี้ยังมีผลของการมองเห็นว่าภาพสีขาวที่อยู่ในพื้นสีดาจะทาให้ดูโตขึ้น10-15 % สังเกตภาพตัวอักษรA ในข้อที่6 ตัวอักษรดาและขาวโตเท่ากันในการทาต้นแบบเมื่อตัวA อีกตัวหนึ่งไปอยู่ในพื้นดาทาให้ดูโตกว่าเทคนิคนี้นิยมนาไปใช้ทาตัวอักษรพาดหัวข่าวสาคัญในหน้าหนึ่งของหนังสือพิมพ์

6. ขนาดและสัดส่วน (Size & Scale)


ขนาดคือการเปรียบเทียบรูปร่างหรือรูปทรงการวัดสัดส่วนระยะหรือขอบเขตของรูปร่างนั้นๆสัดส่วน(Scale) สัดส่วนคือความเหมาะสมของสิ่งของตั้งแต่2 สิ่งขึ้นไปมีความสัมพันธ์กันการหาความสัมพันธ์ของขนาดและสัดส่วนในการออกแบบต้องคานึงถึงขนาดและสัดส่วนของผู้ใช้และกิจกรรมภายในเป็นหลัก


7. วัสดุและพื้นผิว (Material and Texture )


วัสดุ (Material) วัสดุคือวัตถุดิบที่จะนามาใช้ในการออกแบบโดยเลือกความเหมาะสมตรงตามลักษณะของงานถ้าทาลงบนกระดาษวาดเขียนอาจเป็นรูปลอกลวดลายต่างๆแบบทึบแสงถ้าทาลงบนแผ่นโปร่งใสก็ใช้รูปหรืออักษรลอกแบบสีโปร่งแสงเป็นต้น
พื้นผิว (Texture) พื้นผิวคือลักษณะเฉพาะที่เกิดจากโครงสร้างของวัสดุอาจนาวัตถุดิบหลายๆอย่างมาสร้างให้เกิดพื้นผิวใหม่หรือความรู้สึกในการแยกจาแนกความเรียบความขรุขระความแตกต่างของพื้นผิวในทางกราฟิกสามารถแยกออกได้ด้วยประสาทสัมผัสทางตาเป็นส่วนใหญ่พื้นผิวที่แตกต่างกันจะให้ความรู้สึกต่างกัน


ระนาบ (Plane)

ระนาบคือเส้นที่ขยายออกไปในทางเดียวกันจนเกิดเป็นพื้นที่ขึ้นมาแบ่งได้ดังนี้
1. Overhead plane ระนาบที่อยู่เหนือศีรษะอยู่ข้างบนให้ความรู้สึกปลอดภัยเหมือนมีหลังคาคลุมมีสิ่งปกป้องจากด้านบน
2. Vertical plane ระนาบแนวตั้งหรือตัวปิดล้อมเป็นส่วนบอกขอบเขตที่ว่างตามแนวนอนความกว้างความยาว
3. Base plane ระนาบพื้นระดับดินหรือระดับเสมอสายตาอาจมีการเปลี่ยนหรือเล่นระดับเพื่อให้เกิดความรู้สึกต่างๆ


หลักและวิธีในการใช้การเน้น

เน้นด้วยการใช้หลักเรื่อง Contrast

-เน้นด้วยการประดับ
-เน้นด้วยการจัดกลุ่มในส่วนที่ต้องการเน้น
-เน้นด้วยการใช้สี
-เน้นด้วยขนาด
-เน้นด้วยการทาจุดรวมสายตา


3. เอกภาพ (Unity)


ความเป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน เป็นกลุ่มเป็นก้อน โดยที่องค์ประกอบภายในต้องกลมกลืนกันมี 2 แบบคือ

- เอกภาพแบบหยุดนิ่ง(Static unity) โดยใช้รูปทรงเรขาคณิตทาให้เกิดลักษณะหนักแน่น

- เอกภาพแบบเคลื่อนไหว (Dynamic unity) ใช้รูปทรงหรือรูปร่างแบบธรรมชาติทาให้เคลื่อนไหวสนุกสนาน

4. ความกลมกลืน (Harmony)



การจัดองค์ประกอบที่ใกล้เคียงกันหรือคล้ายๆกันมาจัดภาพทาให้เกิดความนุ่มนวลกลมกลืนกันมี3 แบบคือ

4.1 กลมกลืนในด้านประโยชน์ใช้สอย คือ ทำให้เป็นชุดเดียวกัน

4.2 กลมกลืนในความหมาย เช่น การออกแบบเครื่องหมายการค้า& โลโก้
4.3 กลมกลืนในองค์ประกอบ ได้แก่

4.3.1 กลมกลืนด้วยเส้น-ทิศทาง

4.3.2 กลมกลืนด้วยรูปทรง-รูปร่าง

4.3.3 กลมกลืนด้วยวัสดุ

4.3.4 พื้นผิว

4.3.5 กลมกลืนด้วยสี มักใช้โทรสีที่ใกล้กัน

4.3.6 กลมกลืนด้วยขนาด-สัดส่วน

4.3.7 กลมกลืนด้วยน้าหนัก


5.ความขัดแย้ง (Contrast)


การจัดองค์ประกอบให้เกิดความแตกต่างเพื่อดึงดูดความสนใจหรือให้เกิดความสนุกตื่นเต้นน่าสนใจลดความเรียบน่าเบื่อให้ความรู้สึกฝืนใจขัดใจแต่ชวนมอง

6. จังหวะ(Rhythm)



จังหวะเกิดจากการต่อเนื่องกันหรือซ้าซ้อนกันจังหวะที่ดีทาให้ภาพดูสนุกเปรียบได้กับเสียงเพลงอันไพเราะในด้านการออกแบบแบ่งจังหวะเป็น3 แบบ


6.1 จังหวะแบบเหมือนกันซ้าๆกัน
เป็นการนาเอาองค์ประกอบหรือรูปที่เหมือน ๆ กัน มาจัดวางเรียงต่อกัน ทาให้ดูมีระเบียบ (Order) เป็นทางการ การออกแบบลายต่อเนื่อง เช่น ลายเหล็กดัด ลายกระเบื้องปูพื้นหรือผนัง ลายผ้า เป็นต้น


6.2 จังหวะสลับกันไปแบบคงที่
เป็นการนาองค์ประกอบหรือรูปที่ต่างกันมาวางสลับกันอย่างต่อเนื่องเป็นชุดเป็นช่วงให้ความรู้สึกเป็นระบบสม่าเสมอความแน่นอน


6.3 จังหวะสลับกันไปแบบไม่คงที่
เป็นการนาองค์ประกอบหรือรูปที่ต่างกันมาวางสลับกัน อย่างอิสระ ทั้งขนาด ทิศทาง ระยะห่าง ให้ความรู้สึกสนุกสนาน


6.4 จังหวะจากเล็กไปใหญ่หรือจากใหญ่ไปเล็ก
เป็นการนารูปที่เหมือนกัน มาเรียงต่อกัน แต่มีขนาดต่างกันโดยเรียงจากเล็กไปใหญ่หรือจากใหญ่ไปเล็กอย่างต่อ เนื่องทาให้ภาพมีความลึก มีมิติ



7. ความง่าย (Simplicity)

เป็นการจัดให้ดูโล่งสบายตาไม่ยุ่งยากซับซ้อนมีมโนทัศน์เดียวลดการมีฉากหลังหรือภาพประกอบอื่นๆที่ไม่จาเป็นหรือไม่เกี่ยวข้องออกไปเพราะการมีฉากหลังรกทาให้ภาพหลักไม่เด่นนิยมใช้ในการถ่ายภาพที่ปรับฉากหลังให้เบลอเป็นภาพเกี่ยวกับดอกไม้แมลงสัตว์และบุคคลนางแบบเป็นต้น

8. ความลึก (Perspective)
 

ให้ภาพดูสมจริงคือภาพวัตถุใดอยู่ใกล้จะใหญ่ถ้าอยู่ไกลออกไปจะมองเห็นเล็กลงตามลาดับจนสุดสายตาซึ่งมีมุมมองหลักๆอยู่3 ลักษณะคือวัตถุอยู่สูงกว่าระดับตาวัตถุอยู่ในระดับสายตาและวัตถุอยู่ต่ากว่าระดับสายตา

วันจันทร์ที่ 12 ธันวาคม พ.ศ. 2554

จิตวิทยาสีของการออกแบบและการนำเสนอ

ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับ สี ( Introduction to Colour)


1. ความหมายและการเกิดสี


คำว่า สี (Colour) ตามพจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน หมายถึง ลักษณะของแสง ที่ปรากฏแก่ สายตาเรา ให้เห็นเป็น สีขาว ดำ แดง เขียวฯลฯหรือการสะท้อนรัศมีของแสงมาสู่ตาเรา
สี ที่ปรากฏ ในธรรมชาติ เกิดจากการสะท้อนของแสงสว่าง ตกกระทบ กับวัตถุแล้ว เกิดการหักเหของแสง ( Spectrum ) สีเป็นคลื่นแสงชนิดหนึ่ง ซึ่งปรากฏให้เห็น เมื่อแสงผ่านละอองไอน้ำ ในอากาศ หรือ แท่งแก้วปริซึม ปรากฏเป็นสีต่างๆ รวม 7 สี ได้แก่ สีแดง ม่วง ส้ม เหลือง น้ำเงิน คราม และเขียว เรียกว่า สีรุ้ง ที่ปรากฏบนท้องฟ้า


2. ประเภทของสี


สี มีอยู่ทั่วไปในสิ่งแวดล้อมรอบๆตัวเรา สีที่ปรากฏอยู่ในโลกสามารถแบ่งออกได้เป็น 2 ประเภทใหญ่ๆ คือ
2.1 สีที่เกิดในธรรมชาติ มีอยู่ 2 ชนิดคือ
ก. สีที่เป็นแสง ( Spectrum ) คือ สีที่เกิดจากการหักเหของแสง เช่น สีรุ้ง สีจากแท่งแก้วปริซึม
ข. สีที่อยู่ในวัตถุ หรือเนื้อสี ( Pigment ) คือ สีที่มีอยู่ในวัตถุธรรมชาติทั่วไป เช่น สีของพืช สัตว์ หรือแร่ธาตุต่างๆ
2.2 สีที่มนุษย์สร้างขึ้น คือ สีที่ได้จากการสังเคราะห์ เพื่อใช้ประโยชน์ในงานต่างๆ เช่น งานศิลปะ อุตสาหกรรม การพาณิชย์ และในชีวิตประจำวัน โดยสังเคราะห์จากวัสดุธรรมชาติ และจากสารเคมี ที่เรียกว่า สีวิทยาศาสตร์ ซึ่งสีที่ได้จาก การสังเคราะห์สามารถนำมาผสมกัน ให้เกิดเป็น สีต่างๆอีกมากมาย


การผสมสี ( Color Mixing)
รูปแบบการผสมสีเพื่อให้เกิดเป็นสีต่างๆ สามารถแบ่งได้เป็น 2 แบบ คือการผสมของแสงหรือการผสมแบบบวก (additive mixing) และการผสมของรงควัตถุ (pigment)หรือการผสมแบบลบ (subtractive mixing) ซึ่งมีรายละเอียดดังต่อไปนี้
การผสมสีแบบบวก (Additive Mixing)

การผสมสีแบบบวกนี้ เป็นสิ่งที่ค่อนข้างยากในการทำความเข้าใจ เพราะมีหลักการที่ลบล้างสิ่งที่คุณถูกสอนมาในสมัยก่อน เรากำลังจะพูดถึงรูปแบบการผสมของแสง ไม่ใช่การผสมของวัตถุมีสีบนกระดาษ เนื่องจากแสงสีขาวประกอบด้วยลำแสงที่มีสีต่างๆตามความยาวคลื่นแสง ความยาวคลื่นแสงพื้นฐานได้แก่สีแดง เขียว และน้ำเงิน ไม่ใช่สีแดง เหลืองและน้ำเงินอย่างที่เราเข้าใจมาก่อน เมื่อคลื่นแสงเหล่านี้มีการซ้อนทับกันก็จะก่อให้เกิดการบวกและรวมตัวกันของความยาวคลื่นแสง จึงเป็นที่มาของชื่อ “สีแบบบวก” เมื่อแสงทั้งสามสีมีการผสมกันเป็นคู่ ก็จะเกิดเป็นสีน้ำเงินแกมเขียวหรือ cyan (เกิดจากสีน้ำเงินบวกกับเขียว) สีแดงแกมม่วงหรือ magenta (เกิดจากสีแดงบวกกับน้ำเงิน) และสีเหลือง (เกิดจากสีแดงบวกกับเขียว) และในที่สุดเมื่อผสมสีทั้งสามเข้าด้วยกัน ก็จะได้ผลลัพธ์เป็นแสงสีขาวอีกครั้งสื่อใด ๆ ก็ตามที่มีการใช้แสงส่องออกมา อย่างเช่น จอโปรเจคเตอร์ (movie projector) ทีวี หรือจอมอนิเตอร์สำหรับคอมพิวเตอร์ ต่างก็เป็นไปตามกฎของการผสมสีแบบบวกนี้ เพราะเหตุนี้ การออกแบบสีสำหรับเว็บไซต์ จึงต้องอาศัยหลักการผสมสีแบบบวกนี้เช่นกัน


สีแบบบวก







การผสมสีแบบลบ (Subtractive Color Mixing)

การผสมสีแบบลบไม่ได้มีความเกี่ยวข้องกับเรื่องของลำแสงแต่อย่างใด ๆ แต่เกี่ยวเนื่องกับการดูดกลืนและสะท้อนแสงของวัตถุต่างๆ เมื่อแสงสีขาวส่องมายังวัตถุหนึ่งๆวัตถุนั้น จะดูดกลืนแสงที่ความยาวคลื่นบางระดับไว้และสะท้อนแสงที่เหลือออกมาให้เราเห็น สีขั้นต้นในรูปแบบนี้ประกอบด้วย สีแดงแกมม่วง (magenta) สีน้ำเงินแกมเขียว (cyan) และสีเหลือง ซึ่งไม่ใช่สีแดง เหลือง และน้ำเงินอย่างธรรมดาอย่างที่หลายๆคนเข้าใจ เมื่อมีการผสมของรงควัตถุหรือวัตถุมีสี จะเกิดการรวมกันของสีที่จะถูกดูดกลืนไว้ ทำให้ปริมาณแสงที่จะสะท้อนออกมาลดลง จึงเป็นที่มาของชื่อ “ สีแบบลบ ” เมื่อสีทั้งสามมีการผสมกันเป็นคู่ๆ ก็จะเกิดผลเป็นสีต่างๆ ได้แก่สีแดง (เกิดจากสีแดงแกมม่วงบวกกับเหลือง) สีเขียว (เกิดจากสีเหลืองบวกกับน้ำเงินแกมเขียว) และสีน้ำเงิน (เกิดจากสีน้ำเงินแกมเขียวบวกกับแดงแกมม่วง) ในขั้นสุดท้าย เมื่อรวมสีทั้งสามเข้าด้วยกันก็จะเห็นเป็นสีดำ เพราะมีการดูดกลืนแสงทุกสีไว้ทั้งหมด ทำให้ไม่มีแสงสีใดสามารถสะท้อนออกมาได้สื่อต่างๆที่เกี่ยวข้องกับการใช้วัตถุมีสี อย่างเช่น สีที่ใช้ในการวาดรูปของศิลปิน , ดินสอสี , สีเทียน รวมถึงระบบการพิมพ์แบบ 4 สี ในสิ่งพิมพ์ต่าง ๆ (โดยมีหมึกสีดำเพิ่มมาอีกสีหนึ่ง) ล้วนอาศัยการผสมสีแบบลบนี้ทั้งสิ้น


สีแบบลบ
 
 
 
รูปแบบชุดสีพื้นฐาน ( Simple Color Schemes )
หลังจากคุณได้รู้จักพื้นฐานของสีมาพอสมควร ต่อไปจะเป็นเรื่องของชุดสีที่ถูกจัดกลุ่มอย่างเข้ากันด้วยรูปแบบต่างๆ ทำให้เรามีโอกาสเลือกชุดสีเหล่านี้มาใช้ในการออกแบบได้โดยไม่ต้องเสียเวลาสุ่มเลือกสีต่างๆให้ดูเข้ากัน อย่างไรก็ตามคุณควรยึดรูปแบบเหล่านี้เป็นเพียงหลักการเบื้องต้น และยังคงต้องทำการปรับเปลี่ยนค่าของสี ( hue) ความอิ่มตัวของสี (saturation) และความสว่างของสี lightnessเพื่อให้เกิดลักษณะที่อ่านง่าย สวยงาม และเหมาะสมกับเนื้อหาของเว็บไซต์

ชุดสีร้อน ( Warm Color Scheme )

ชุดสีร้อนประกอบด้วยสีม่วงแกมแดง , แดงแกมม่วง , แดง , ส้ม , เหลือง และเขียวอมเหลือง สีเหล่านี้สร้างความรู้สึกอบอุ่น สบาย และความรู้สึกต้อนรับแก่ผู้ชม ช่วยดึงดูดความสนใจได้ง่าย ในทางจิตวิทยาสีร้อนมีความสัมพันธ์กับความสุข สะดวก สบาย สีต่างๆในชุดสีร้อนมีความกลมกลืนอยู่ในตัวเอง ขณะที่อาจจะดูไม่น่าสนใจบ้าง เพราะขาดสีประกอบที่ตัดกันอย่างชัดเจน

ชุดสีเย็น ( Cool Color Scheme )

ชุดสีเย็นประกอบด้วยสีม่วง , น้ำเงิน , น้ำเงินอ่อน , ฟ้า , น้ำเงินแกมเขียว และสีเขียว ตรงกันข้ามกับชุดสีร้อน ชุดสีเย็นให้ความรู้สึกเย็นสบาย องค์ประกอ บที่ใช้สีเย็นเหล่านี้จะดูสุภาพเรียบร้อย และมีความชำนาญ แต่ในทางจิตวิทยา สีเย็นเหล่านี้กลับมีความสัมพันธ์กับความซึมเศร้าหดหู่และเสียใจ นอกจากนั้น ชุดสีเย็นมีความกลมกลืนกันโดยธรรมชาติ แต่อาจจะดูไม่น่าสนใจในบางครั้ง เพราะขาดความแตกต่างของสีที่เด่นชัด เช่นเดียวกับชุดสีร้อน จะเห็นว่า มีอีก 2 สี ที่ไม่อาจจำแนกออกเป็นสีร้อนหรือสีเย็นได้อย่างแน่นอน ซึ่งก็คือสีเหลืองและสีเขียว เพราะสีทั้งสองสามารถให้ความรู้สึกได้ทั้งร้อนและเย็นตามแต่สถานการณ์และสีรอบข้าง

ชุดสีแบบสีเดียว (Monochromatic Color Scheme)

รูปแบบของชุดสีที่ง่ายที่สุดคือชุดแบบสีเดียวที่มีค่าของสีบริสุทธิ์เพียงสีเดียว ความหากหวายของสีชุดนี้เกิดจากการเพิ่มสีเดียว ความหลากหลายของสีชุดนี้เกิดจากการเพิ่มความเข้มหรือความเข้มหรือความอ่อนในระดับต่างๆ ให้กับสีตั้งต้น ดังนั้น ชุดสีแบบเดียวของสีแดงอาจประกอบด้วยสีแดงล้วน สีแดงอิฐ(สีเข้ม ของสีแดง) สีสตรอเบอรี่(สีอ่อนปานกลางของสีแดง) ละชมพู(สีอ่อนมากของสีชมพู)
ชุดสีแบบนี้ค่อนข้างจะมีความกลมกลืนเป็นหนึ่งเดียวกัน และประสิทธิภาพในการสร้างอารมณ์โดยรวมด้วยการใช้สีเพียงสีเดียว แต่ในบางครั้งรูปแบบที่มีสีเดียวนี้อาจดูไม่มีชีวิตชีวา เพราะขาดความหลากหลายของสี ซึ่งอาจทำให้ผู้อ่านความสนใจ


ชุดสีที่คล้ายคลึงกัน (Analogous Color Scheme)

ชุดสีที่มีรูปแบบอย่างง่ายอีกแบบหนึ่ง ก็คือชุดสีที่คล้ายคลึงกัน ซึ่งจะประกอบด้วยสี 2 หรือ 3 สีที่อยู่ติดกันในวงล้อสี เช่นสีแดงแกมม่วง สีแดง และสีส้ม เนื่องจากชุดสีที่อยู่ในรูปแบบนี้มีจำนวนมากมายทำให้เราสามารถเลือกชุดสีแบบนี้มาใช้งานได้อย่างง่ายสะดวก และแม้ว่าเราสามารถเพิ่มจำนวนสีในชุดให้มากขึ้นเป็น 4 หรือ 5 สีได้ แต่กลับจะมีผลให้ขอบเขตของสีที่มีความกว้างเกินไป ทำให้สีอยู่ตรงปลายทั้งสองของชุดไม่มีความสัมพันธ์กัน เป็นสาเหตุให้ลักษณะการที่อยู่ตรงปลายทั้งสองชุดไม่มีความสัมพันธ์ เป็นสาเหตุให้ลักษณะการที่มีสีคล้ายคลึงกันลดลง
ณ บางตำแหน่งของวงล้อสี ชุดสีคล้ายคลึงกัน 3-4 สีทีอยู่ติดกันอาจดูเหมือนเป็นสีเดียวกัน เพราะมีสีใดสีหนึ่งคลุมโทนของสีทั้งหมดไว้ ไม่เพียงแต่ชุดสีแบบนี้จะนำมาใช้งานได้สะดวก ความคล้ายคลึงกันของสียังก่อให้เกิดความกลมกลืนกันอีกด้วย แม้กระนั้นก็ดีการขาดความแตกต่างอย่างชัดเจน อาจทำให้ไม่มีความเด่นเพียงพอที่จะดึงดูดความสนใจของผู้อ่านได้



หลักการใช้สี การใช้สีกับงานออกมานั้น อยู่ที่นักออกแบบมีจุดมุ่งหมายใด ที่จะสร้างความสนใจ ความเร้าใจต่อผู้ดูเพื่อให้เข้าถึงจุดหมายที่ตนต้องการ หลักของการใช้มีดังนี้




1.การใช้สีวรรณะเดียว

ความหมายของสีวรรณะเดียว (tone) คือกลุ่มสีที่แบ่งออกเป็นวงล้อของสีเป็น 2 วรรณะ คือ
วรรณะร้อน (warm tone) ซึ่งประกอบด้วย สีเหลือง สีส้ม สีแดง สีม่วง สีเหล่านี้ให้อิทธิพล
ต่อความรู้สึก ตื่นเต้น เร้าใจ กระฉับกระเฉง ถือว่าเป็นวรรณะร้อน
วรรณะเย็น (cool tone) ประกอบด้วย สีเหลือง สีเขียว สีน้ำเงิน สีม่วง สีเหล่านี้ดู เย็นตา
ให้ความรู้สึก สงบ สดชื่น (สีเหลืองกับสีม่วงอยู่ได้ทั้งสองวรรณะ)
การใช้สีแต่ละครั้งควรใช้สีวรรณะเดียวในภาพทั้งหมด เพราะจะทำให้ภาพความเป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน
(เอกภาพ) กลมกลืน มีแรงจูงใจให้คล้อยตามได้มาก






2.การใช้สีต่างวรรณะ

หลักการทั่วไป ใช้อัตราส่วน 80% ต่อ 20% ของวรรณะสี คือ ถ้าใช้สีวรรณธร้อน 80% สีวรรณะเย็นก็ 20%
เป็นต้น ซึ่งการใช้แบบนี้สร้างจุดสนใจของผู้ดู ไม่ควรใช้อัตราส่วนที่เท่ากันเพราะจะทำให้ไม่มีสีใดเด่น ไม่น่าสนใจ
3.การใช้สีตรงกันข้าม
สีตรงข้ามจะทำให้ความรู้สึกที่ตัดกันรุนแรง สร้างความเด่น และเร้าใจได้มากแต่หากใช้ไม่ถูกหลัก หรือ ไม่เหมาะสม หรือใช้จำนวนสีมากสีจนเกินไป ก็จะทำให้ความรุ้สึกพร่ามัว ลายตา ขัดแย้ง ควรใช้สีตรงข้าม ในอัตราส่วน 80% ต่อ20% หรือหากมีพื้นที่เท่ากันที่จำเป็นต้องใช้ ควรนำสีขาว หรือสีดำ เข้ามาเสริม เพื่อ ตัดเส้นให้แยกออก จาก กันหรืออีกวิธีหนึ่งคือการลดความสดของสีตรงข้ามให้หม่นลงไป
สีตรงข้ามมี 6 คู่ได้แก่
สีเหลือง ตรงข้ามกับ สีม่วง
สีแดง ตรงข้ามกับ สีเขียว
สีน้ำเงิน ตรงข้ามกับ สีส้ม
สีเขียวเหลือง ตรงข้ามกับ สีม่วงแดง
สีส้มเหลือง ตรงข้ามกับ สีม่วงน้ำเงิน
สีส้มแดง ตรงข้ามกับ สีเขียวน้ำเงิน

การใช้สีตัดกัน ควรคำนึงถึงความเป็นเอกภาพด้วย วิธีการใช้มีหลายวิธี เช่น
ใช้สีให้มีปริมาณต่างกัน เช่น ใช้สีแดง 20 % สีเขียว 80% หรือ
ใช้เนื้อสีผสมในกันและกัน หรือใช้สีหนึ่งสีใดผสมกับสีคู่ที่ตัดกัน ด้วยปริมาณเล็กน้อย
รวมทั้งการเอาสีที่ตัดกันมาทำให้เป็นลวดลายเล็ก ๆ สลับกัน

ในงานออกแบบ หรือการจัดภาพ หากเรารู้จักใช้สีให้มีสภาพโดยรวมเป็นวรรณะร้อน หรือวรรณะเย็น
เราจะ สามารถควบคุม และสร้างสรรค์ภาพให้เกิดความประสานกลมกลืน งดงามได้ง่ายขึ้น เพราะสีมีอิทธิพลต่อ
มวล ปริมาตร และช่องว่าง สีมีคุณสมบัติที่ทำให้เกิดความกลมกลืน หรือขัดแย้งได้ สีสามารถขับเน้นให้ให้เกิด
จุดเด่น และการรวมกันให้เกิดเป็นหน่วยเดียวกันได้ เราในฐานะผู้ใช้สีต้องนำหลักการต่างๆ
ของสีไปประยุกต์ใช้ให้สอดคล้อง กับเป้าหมายในงานของเรา เพราะสีมีผลต่อการออกแบบ คือ
1. สร้างความรู้สึก สีให้ความรู้สึกต่อผู้พบเห็นแตกต่างกันไป ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับประสบการณ์ และภูมิหลัง ของแต่ละคน
สีบางสีสามารถรักษาบำบัดโรคจิตบางชนิดได้ การใช้สีภายใน หรือภายนอกอาคาร จะมีผลต่อการ สัมผัส และสร้างบรรยากาศได้
2. สร้างความน่าสนใจ สีมีอิทธิพลต่องานศิลปะการออกแบบ จะช่วยสร้างความประทับใจ และความน่าสนใจเป็นอันดับแรกที่พบเห็น
3. สีบอกสัญลักษณ์ของวัตถุ ซึ่งเกิดจากประสบการณ์ หรือภูมิหลัง เช่น สีแดงสัญลักษณ์ของไฟ หรือ
อันตราย สีเขียวสัญลักษณ์แทนพืช หรือความปลอดภัย เป็นต้น

4. สีช่วยให้เกิดการรรับรู้ และจดจำ งานศิลปะการออกแบบต้องการให้ผู้พบเห็นเกิดการจดจำ ในรูปแบบ และผลงาน
หรือเกิดความประทับใจ การใช้สีจะต้องสะดุดตา และมีเอกภาพ





การสร้างความกลมกลืนโดยใช้สีในลักษณะสีเอกรงค์(MONOCHROME)

เป็นการสร้างงานจิตรกรรมโดยใช้สีเดียวสีโดนสีเดียวเพื่อให้มองดูแล้วกลมกลืนกันเป็นสิ่งเดียวกันหรือเป็นกลุ่มเดียวกันหรืออาจจะมีสีอื่นเข้าผสมด้วยแต่ต้องไม่มากนักจากภาพกำหนดสีเขียวอ่อนเป็นสีหลักสีที่ใกล้เคียงเป็นสีรองในวงสีคือเหลืองเขียวเขียวน้าเงินแต่มักนิยมใช้เพียงแค่ สีคือเหลืองเขียวเหลืองเขียวโดยสีรองนี้ต้องนามาลดค่าความสดใสลงโดยการผสมกับสีคู่ตรงข้ามในวงสี


การกลับค่าของสี(DISCORD)

การสร้างความแตกต่างหรือความขัดแย้งที่เหมาะสมได้จังหวะส่งเสริมให้มีสีสันน่าดูขึ้นทั้งนี้เพราะการใชสีกลมกลืนบางครั้งดูจืดชืดเกินไปการสร้างความขัดแย้งในบางจุดทาให้ภาพดูตื่นเต้นขึ้น




การใช้สีให้ประสานส่งเสริมกัน




การตัดกันหรือการต่างกันของสีแต่ละสีสามารถพิจารณาความแตกต่างกันเป็น3 ลักษณะดังนี้
1. ตัดกันด้วยความเป็นสีแท้(HUE)

2. ตัดกันด้วยพลังของสี(SATULATION)

3. ตัดกันด้วยค่าน้าหนัก(VALUE)



การใช้สีสมดุล (Symmetrical Coloring)




เป็นการใช้สีโดยแบ่งภาพออกเป็นสองส่วนซ้ายขวา หรือส่วนบนล่าง เมื่อระบายสีลงในด้านใดให้ระบายสีนั้นในด้านตรงกันข้ามด้วย จะได้ภาพที่มีสีสดในประสานส่งเสริมกันอย่างน่าดูยิ่ง โดยมีความสมดุลของทั้งสองด้านเป็นตัวควบคุม

วันอาทิตย์ที่ 11 ธันวาคม พ.ศ. 2554

การออกแบบและการนำเสนออย่างสร้างสรรค์ด้วยคอมพิวเตอร์

การออกแบบสื่อด้วยดิจิทัลนำเสนอผลงานด้วย Power point

ความเป็นมาของ PowerPoint
โปรแกรม Power Pointเริ่มแรกนั้นได้รับการพัฒนาโดย บ๊อบ กัสกินส์ (Bob Guskins)อดีตนักศึกษาระดับปริญญาเอก มหาวิทยาลัยแคลิฟอเนีย เบิร์กเลย์ USAโดยกัสกินส์เขียนโปรแกรมสร้างแผ่นสไลด์ สามารถนาสไลด์มาเรียงลาดับเป็นผลงานการนาเสนอแบบง่ายๆ
การนำเสนอโดย Power point
      - ต้องมีทักษะการใช้คอมพิวเตอร์
      - เสียเวลาในการเรียนวิธีใช้โปรแกรม
      - ยุ่งยากต่อการออกแบบสไลด์
      - ต้องการเครื่องฉายสไลด์
                    
 ทำไมต้อง Power point ?
      - แก้ไขข้อความได้ง่าย
      - ภาพที่ออกมาคมชัด
      - ง่ายต่อการควบคุมการเปลี่ยนสไลด์
      - เพิ่มภาพประกอบได้
      - ใส่ภาพเคลื่อนไหวประกอบเสียงได้
      - พิมพ์ออกเพื่อเตรียมตัวนำเสนอ

ตัวอย่างสื่อการนำเสนอ
กระดานขาว หรือดา
แผ่นใส
สไลด์ 35 มม.
คอมพิวเตอร์ (Power Point)
•Visualizer
โปสเตอร์

ส่วนประกอบในสไลด์
      - แผ่นสไลด์                       
      - ตัวอักษร                          
      - Flow Chart                      
      - ตาราง                  
      - ภาพประกอบ
      - ภาพเคลื่อนไหว
      - กราฟ
      - เสียง

การวางรูปแบบของสไลด์
      - ใช้รูปแบบสไลด์ 35 mm.
      - วางแนวนอน
      - ใช้เทมเพลตที่มีในโปรแกรม
      - เว้นขอบทั้งสี่ด้านให้ว่าง 0.5 นิ้ว
      - จัดเนื้อหาให้อยู่กลางสไลด์
         
การใช้ตัวอักษรประกอบ
      - ใช้ข้อความแทนประโยค
      - มีข้อมูลควรจัดให้เป็นหัวข้อ
      - ใช้ Key word เพื่อเพิ่มจุดสนใจ

การใช้ภาพประกอบ
      - ภาพที่ใช้ต้องช่วยเสริมข้อความที่เสนอ
      - ไม่ควรมีตัวอักษรในภาพถ้าไม่จำเป็น
      - ตัวอักษรที่ใช้ควรให้เงาเพื่อเพิ่มความชัด
      - ลดสิ่งที่ทำให้เกิดความยุ่งเหยิง
      - ภาพที่ใช้อาจทำให้ขนาดของแฟ้มข้อมูลใหญ่เกินไป

แนวทางการออกแบบ Power point
      - สื่อถึงเนื้อหาที่นำเสนอ
      - หนึ่งสไลด์ต่อหนึ่งความคิด
      - ชัดเจนและสะดวกต่อการอ่าน
      - ความสมดุลและคงเส้นคงวา
      - ใช้ภาพประกอบเมื่อจำเป็น
   
ส่วนประกอบการออกแบบ Power point
      - Introduction ได้แก่ ชื่อเรื่อง ชื่อผู้นำเสนอ หน่วยงาน
      - ลำดับหัวข้อในการนำเสนอ
      - เนื้อหาตามลำดับหัวข้อ
      - บทสรุปการนำเสนอ
      - อ้างอิงหรือขอบคุณ

การเตรียมตัวนำเสนอ
      - ศึกษาข้อมูลทั่วไปสำหรับการนำเสนอ
      - ศึกษาวิธีการควบคุม Slide Show
      - นำเสนอผลงาน      

#สรุป#
มีหัวเรื่องทุกสไลด์
ใช้ตัวอักษรขนาดใหญ่ และหลายรูปแบบ
สีและรูปแบบตัวอักษรไม่ควรมากเกินไป
พื้นหรือ Background ไม่ควรยุ่งเหยิง
หัวข้อย่อยไม่ควรมากกว่า 6 หัวข้อต่อสไลด์
ลำดับความสำคัญของหัวข้อย่อย
ใช้กราฟเมื่อต้องการเปรียบเทียบ ดูแนวโน้ม และแสดงความสัมพันธ์
ใช้ภาพประกอบเมื่อจำเป็น
ควรเว้นช่องไฟให้เหมาะสม
เพิ่มข้อมูลที่ขาดหายไปเมื่อจำเป็น