วันพุธที่ 1 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2555

กิจกรรมการสร้างบาร์โค้ด 2 มิติ (QR Barcode)

กิจกรรมการสร้างบาร์โค้ด 2 มิติ (QR Barcode)



หลักการและพื้นฐานการออกแบบและนำเสนอด้วยการแถลงข่าว

เทคนิคการออกแบบและนำเสนออย่างสร้างสรรค์ด้วยการสถานการณ์จำลองการแถลงข่าวบริษัทเรียนรู้ไร้ขีดจำกัด



ความหมายของการแถลงข่าว
การแถลงข่าวคือการกระจายข่าวสารของเราไปสู่สาธารณชน โดยผ่านสื่อสารมวลชน ไม่ว่าจะเป็น โทรทัศน์วิทยุสื่อส่ิ่งพิมพ์สื่ออินเตอร์เน็ต เป็นการให้ข่าวสารโดยตรงผ่านคำแถลงของผู้แถลงข่าวหรือ Spokeperson



ข้อดีของการแถลงข่าว

1. ไมผ่านการตีความจากสื่อ

2. ทำให้ข่าวสารมีความถูกต้อง ตรงตามวตัถุประสงค์ของผู้กระจายข่าวสาร

3. การแถลงข่าวยังได้รับการยอมรับว่า เป็นสิ่งสำคัญ ที่สุดอย่างหนึ่งในการประชาสัมพันธ์ในภาวะวิกฤติอีกด้วย

4. ด้วยเทคโนโลยีการสื่อสารในยุค ปัจจุบันผ่านสังคมออนไลน์ ได้เปิดโอกาสให้องค์กรเล็กๆ โรงเรียนสถาบันการศึกษา นักเรียนนักศึกษา หรือกลุ่มคนทั่วไป สามารถทำการแถลงข่าวได้โดยไม่ต้องใช้ต้นทุนมากมายแต่ได้ผลในระดับที่น่าพอใจ

5. เยาวชนบางกลุ่มจดัการแถลงข่าวแล้วเผยแพร่ทางเว็ปไซด์Youtube เผยแพร่ข่าวสารทาง website,blog หรือแม้กระทั่ง Facebook, Hi5ของตนเอง ในขณะเดียวกันก็เชิญส่ือมวลชนเข้าร่วมทำข่าวควบคู่กันไปด้วย

ดังนั้น การแถลงข่าวจึงไม่ใช่อาวธุสำคัญของการประชาสัมพันธ์ในภาวะวิกฤติแต่เพียงอย่างเดียวหากแต่ยังเป็นอาวธุ สำคัญในการประชาสัมพันธ์ทั่วไปอีกด้วย  ทุกอย่างอยู่ที่การเตรียมการการวางแผน และลงมือทำ ...

ขั้นตอนการแถลงข่าว

เริ่มต้นที่ไหนดี
หากท่านหรือหน่วยงาน สถาบัน บริษัทห้างร้านของท่านต้องการจะจัดแถลงข่าวขึ้น อะไรคือสิ่งที่ต้องดำเนินการ ... จะเริ่มต้น ตรงไหน ... อย่างไร... มาดูที่การเตรียมการแถลงข่าวกันก่อน ท่านต้องตอบคำถามเหล่านี้ให้ได้

1. ต้องการเสนอข่าวอะไร
2. ต้องการเสนอข่าวให้ใคร
3. ต้องการจะนำเสนอข่าวอย่างไร
4. ต้องการนำเสนอเมื่อใด



ต้องการเสนอข่าวอะไร

ข่าวที่ท่านต้องการนำเสนออาจเป็นข่าวสารและกิจกรรมทั่วไปขององคก์รเช่น การแถลงข่าวประจำเดือน การเปิดตัวสินค้าใหม่ หรือเป็นการแถลงข่าวโครงการที่จัดทำขึ้น เช่น โครงการปลูกป่าเฉลิมพระเกียรติโครงการรณรงค์ลดภาวะโลกร้อน หรือโครงการที่น่าสนใจของบริษัทชี้แจงเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นขององค์กร ในลักษณะของการให้ข้อเท็จจริง หรือชี้แจงความคืบหน้าของสถานการณ์ที่ไม่ปกติ


ต้องการเสนอให้ใคร

เป้าหมายของท่าน คือ สื่อมวลชน หรือทั้งสื่อมวลชนและประชาชนทั่วไป ที่ร่วมรับฟังการแถลงข่าวหรือเพียงเฉพาะประชาชนทั่วไปการแถลงข่าวอย่างไม่เป็นทางการ ส่วนใหญใช้ในการเปิดตัวหนังสือเรื่องราวที่ไม่หนักมาก บรรยากาศสบายๆ ทั้งผู้แถลงและผู้ฟังไม่เหมาะสำหรับการแถลงข่าวงานหรือกิจกรรมที่มีรูปแบบเป็นทางการอย่างไรก็ตามการแถลงแบบกึ่งไม่เป็นทางการสามารถกระทำ ได้แม้สาระที่จะแถลงเป็นทางการขึ้นอยู่กับ ตัวผู้แถลง

ข้อสำคัญ 10 ข้อของการแถลงข่าว
1. วางแผนล่วงหน้าอย่างน้อย 2 สัปดาห์ว่าจะทำอะไรอย่างไรเมื่อไร
 คู่มือการกำหนดสถานที่แถลงข่าว
- สิ่งอำนวยความสะดวกสื่อมวลชน เช่น โทรศัพท์โทรสารเครื่องถ่ายเอกสารอินเตอร์เน็ต ห้องสุขา
- ความยุ่งยากของระบบเสียง เช่น ลำโพงไมโครโฟน เสียงก้อง เสียงรบกวน หากเป็นภายนอก คำนึงถึง   เสียงลม แสงแดด
- มุมพักคอยและเครื่องดื่ม อาหารว่างของผู้สื่อข่าว

คู่มือการกำหนดเวลา
- กำหนดล่วงหน้าอย่างน้ัอย 1 สัปดาห์
- ปกติควรใช้วัน อังคาร พุธ พฤหัสบดี
- ไม่ตรงกับกิจกรรมที่สำคัญ อื่นๆ ท่ี่ส่ื่อมวลชนต้องไปทำข่าว
- วันพิเศษบางวัน เช่น วันประกาศผลลอตเตอรี่ สื่อจะปิดต้นฉบับเร็วมาก
2. ทำความเข้าใจกับทีมงาน ให้เข้าใจตรงกันว่า แผนเป็นอย่างไร ทำเพื่ออะไร ทำอย่างไร
ภารกิจทีมงานแถลงข่าว
- ทีมงานต้องเตรียมการรับมือกับสิ่งที่คาดไม่ถึง เช่น ไฟดับ ไมโครโฟนไม่ดัง มีผู้ก่อกวนการแถลงข่าวผู้สื่อข่าวถามคำถามที่ไม่ควรถาม
- ต้องคำนึงเสมอว่าการแถลงข่าวนี้มีความสำคัญ อย่างยิ่งในการสนับสนุนให้องค์กรบรรลุภารกิจ
- สร้างความสัมพันธ์อันดีกับสื่อ
3. เตรียมข้อมลู ข่าวสารเอกสารแผ่นพับ โปสเตอร์ที่จะใช้ในการแถลงข่าวเพื่อจัดทำ ชุดแถลงข่าว(Press kit) แจกผู้สื่อข่าวในวันแถลงข่าว
4. เตรียมรายชื่อของสื่อและตัดสินใจว่าจะเชิญใครบ้าง
5. ทำหนังสือเชิญร่วมทำข่าวการแถลงข่าวและแฟ๊กซ์ให้กับ สื่ออย่างน้อย 1 สัปดาห์ก่อนการแถลงข่าว
6. เตรียมร่างคำแถลงข่าว ที่สั้น กระชับ ตรงประเด็น ไม่ควรเกิน 10 นาที พร้อมแนวทางถามตอบ
ข้อจำกัดของสื่อมวลชน
- สื่อวิทยุ โทรทัศน์มีเวลาที่จำกัดในการเสนอข่าวสาร หรือบทสัมภาษณ์ (เฉลี่ยไม่เกิน 2 นาทีต่อ 1 ข่าว)
- สื่อสิ่งพิมพ์มีเนื้อที่จำกัดในการเสนอข่าว หรือบทสัมภาษณ์ดังนั้น คำแถลงข่าวต้องสั้น กระชับ ตรงประเด็น
7. นำข้อมูล ทั้งหมดและคำแถลงข่าว มารวบรวมจัดทำ ข่าวประชาสัมพันธ์และชุดแถลงข่าวเพื่อแจกสื่อมวลชน
8. โทรหาผู้สื่อข่าวอีก 2 ครั้ง
-คร้ังแรก 3 วันก่อนแถลงเพื่อยีนยันว่า ยังมีการแถลงข่าว
-คร้ังที่สอง 1 วันก่อนแถลงเพื่อยืนยันการมาร่วม
9. ในวันแถลงข่าวให้มาเตรียมการก่อนเวลา เพื่อแก้ไขปัญหาเฉพาะหน้า
ข้อควรระวัง
- มีพิธีกรเพื่อคอยช่วยผู้แถลงข่าวหรือไม่ในกรณีสื่อถามไม่ตรงประเด็น ใช้คำตอบว่า เป็นคำถามที่ดีมากครับ แต่ต้องขออภัยด้วยที่ไม่มีการพดูถึงเรื่องนี้ในการประชุมครั้งนี้ขอผ่านเป็นคำถามต่อไป
-ผู้แถลงข่าวต้องมีความมั่นใจ สายตาไม่ส่ายไปมาการวางมือต้องอยู่นิ่ง เพราะภาพเหล่านี้จะปรากฏต่อสายตาผู้ชมทั่วประเทศ
- ตอบคำถามด้วยคำตอบสั้น ๆ ตรงประเด็น ไม่เกิน 50 วินาที เพื่อสื่อสามารถนำไปออกอากาศ หรือตีพิมพ์ได้ทันทีโดยไม่ต้องสรุป
- สื่อโทรทัศน์ต้องใช้เวลาอย่างน้อย 15 นาทีตั้งกล้องและเดินสายไมค์
- จัดโต๊ะลงทะเบียนสื่อ พร้อมแจกข่าวต่างๆ
10. เมื่อเสร็จสิ้นการแถลงข่าวให้ส่งเอกสารการแถลงข่าว ให้กับสื่อที่ไม่สามารถมาได้ทั้งหมดนี้เป็นแนวทางในการแถลงข่าว ที่รวบรวมนำมาเสนอแบบคร่าวๆ


วันเสาร์ที่ 28 มกราคม พ.ศ. 2555

แบบฝึกหัดท้ายบทเรียน

บุญคุณไหนไม่เท่าบุญคุณแม่  ที่มีแต่ความรักไม่รู้จักเหนื่อย  ท่านห่วงใยใส่ใจเราทุกเมื่อ

   ให้นิสิตเขียนค้นหาคำคม หรือสุภาษิต ที่เกี่ยวข้องกับวันแม่ เช่น พระคุณแม่  ทำความดีอย่างไรให้กับแม่ พร้อมเขียนบทความลงในเว็บบล็อก และ Print ส่ง พร้อมนำเสนอในสัปดาห์หน้า ความยาวในการนำเสนอไม่เกิน 2-3 นาที ตามหลักการพูดเพื่อการนำเสนออย่างสร้างสรรค์

ตอบ 
แม่ คำแรกลูกเพียรหัดออกเสียง
กล่าวถ้อยเพียงวาจาซื่อแสนใส
น้อยคนนักจักคิดทวนความหมายใน
คำเปรี่ยมใจเมตตาเอื้ออาทร
คือผู้ให้ไม่มีที่สิ้นสุด
เปรียบประดุจสายธารแลสิงขร
หล่อเลี้ยงจิตปกป้องภัยไม่แคลนคลอน
คอยพร่ำสอนต้นกล้าน้อยให้เติบโต



            หากจะกล่าวถึง พระคุณของแม่แล้ว คงยากที่จะกว่าที่กล่าวได้หมด เพราะพระคุณของแม่มีมากมายมหาศาล แม่อดทนอุ้มท้องตั้งเก้าเดือน เฝ้าประคับประครองหนึ่งชีวิตน้อยๆ เพื่อรอวันและเวลาที่จะได้ลืมตาขึ้นมาดูโลก  แม่ฟูมฟักเลี้ยงดูแลทะนุถนอมดั่งแก้วตาดวงใจ แม่เป็นห่วงเป็นใยเราเสมอไม่เคยห่าง แม่เป็นผู้ให้ที่ยิ่งใหญ่ที่สุด แม่ให้ชีวิตเราเกิดมา ถ้าไม่มีแม่ก็คงไม่มีเราในวันนี้ แม่สรรหาสิ่งดีๆให้เราอยู่เสมอ ส่งให้เรียนตั้งแต่เล็กจนโต แม้เหนื่อยยากแค่ไหนไม่เคยบ่น หวังเห็นเรามีความสุขประสบผลสำเร็จในชีวิต เป็นคนดีของครอบครัวและสังคม ถ้าหากวันนี้ได้มองย้อนกลับไป เราเคยทำอะไรที่ไม่ดีต่อแม่ไว้ ที่ผ่านมาแม่นั้นให้อภัยเราเสมอ คอยพร่ำสอนให้เรารู้ผิดถูกรู้ชั่วดี นับจากนี้เราจะเป็นลูกที่ดีให้แม่ภูมิใจและตั้งใจเรียนให้จบรับปริญญาพร้อมกลับมากราบเท้าแม่ทดแทนคุณ ...




วันศุกร์ที่ 27 มกราคม พ.ศ. 2555

แบบฝึกหัดการแต่งกาย ให้ตอบคำถามลงใน Weblog และ Print ส่งในวันเรียนสัปดาห์ถัดไป

แบบฝึกหัดการแต่งกาย ให้ตอบคำถามลงใน Weblog และ Print ส่งในวันเรียนสัปดาห์ถัดไป

1. ประโยคที่ว่า บุคลิกดีมีชัยไปกว่าครึ่งนิสิตเห็นด้วยหรือไม่ จงให้เหตุผล Weblog
ตอบ เห็นด้วย เพราะ การมีบุคลิกดีมีชัยไปกว่าครึ่ง หมายความว่าการมีบุคลิกภาพที่ดีย่อมทำให้เราดูมีเสน่ห์ดึงดูดใจ เป็นเสมือนโซ่คล้องใจผู้พบเห็นให้เกิดความประทับใจ และความมั่นใจในเรา และยังให้ความไว้วางใจ
ดังนั้นบุคลิกภาพจึงเป็นเสมือนภาพลักษณ์ภายนอกที่สำคัญ ถือว่าเป็นหน้าตาและกระจกส่องภาพพจน์ของตนเองที่มีต่อสายตาผู้อื่น การสร้างบุคลิกภาพที่ดีของตนเองนั้นไม่ยากเลย ขึ้นอยู่กับความพร้อมและความต้องการของตนโดยเริ่มจากสิ่งเหล่านี้
การจัดทรงผม
ก่อนออกจากบ้านทุกครั้ง คุณควรสังเกตการจัดทรงผมของตนว่าดูเรียบร้อยหรือยัง ทั้งนี้ควรเลือกทรงผมให้เหมาะสมกับกาลเทศะ โอกาส และบุคลิกภาพของตนเองด้วย
การแต่งกาย
การแต่งกายถือว่าเป็นเรื่องสำคัญมาก ควรเลือกใส่เสื้อผ้าที่เหมาะสมกับรูปร่างและบุคลิกลักษณะของตน ดูความเหมาะสมของบุคคลและสถานที่ ดูแลสภาพความเรียบร้อยของเสื้อผ้าที่แต่งด้วย ควรจะรีดและจัดเสื้อให้เรียบร้อย ที่สำคัญไม่ควรปล่อยให้เสื้อผ้าส่งกลิ่นเหม็นอับหรือมีกลิ่นที่ไม่น่าพึงประสงค์
การเดิน นั่ง และยืน
การแสดงออกเหล่านี้จะบ่งบอกถึงบุคลิกภาพที่มีความมั่นใจและเชื่อมั่นในตนเอง หลักง่าย ๆ ของการเดิน นั่ง และยืนที่ดูดีก็คือ ยืดตัว หน้าตรง เดินแกว่งแขนไปมาเล็กน้อย ทั้งนี้การมีท่าเดิน นั่ง และยืนที่ถูกลักษณะ นอกจากจะส่งผลต่อภาพลักษณ์ของตนเองด้วย
การใช้สายตา และแววตา
สายตาและแววตาที่แสดงออกมาจะเป็นเสน่ห์ดึงดูดใจผู้อื่นได้ ไม่ควรหลบหรือหลีกเลี่ยงการปะทะสายตา การสบสายตานั้นมิใช่การจ้องมองแบบเอาเลือดเอาเนื้อ ควรเป็นการแสดงออกด้วยความรู้สึกเอาใจใส่ และความปรารถนาที่อยากจะพูดคุยด้วย รวมถึงการมีแววตาที่พร้อมจะให้ความช่วยเหลือ ความเป็นกันเอง และความร่วมมือต่าง ๆ
การใช้คำพูด และน้ำเสียง
หลีกเลี่ยงการใช้คำพูดดูถูกดูหมิ่น เหน็บแนม หรือใช้คำพูดก้าวร้าว เอะอะโวยวาย


2. ถ้านิสิตเป็นคนมีรูปร่างอ้วนควรแต่งกายอย่างไร พร้อมภาพประกอบ ลงใน Weblog

ตอบ ถ้าเป็นคนรูปร่างอ้วน ควรเลือกการแต่งกายดังนี้ ..

1.  เสื้อผ้าคนอ้วนควรใช้สีเข้มจะช่วยทำให้สาวรูปร่างอ้วนดูผอมเพรียวกว่าเดิมได้ อันนี้เป็นหลักคลาสสิกที่สาวรูปร่างอ้วนทั้งหลายมักจะรู้และเลือกหาเพื่อซื้อเสื้อผ้าคนรูปร่างอ้วนสีเข้ม ๆ กันอยู่แล้ว
2.  สาวรูปร่างอ้วน หากต้องการปกปิดสัดส่วนตรงไหน ไม่อยากให้เป็นจุดเด่นเน้นสายตา ควรหลีกเลี่ยงเสื้อผ้าคนอ้วนหรือเสื้อผ้าไซส์ใหญ่ ที่เป็นผ้ามัน ๆ เด็ดขาด
3.  สาวรูปร่างอ้วนที่มีสะโพกใหญ่ ควรหากระโปรงคนอ้วนหรือชุดแซกแบบกระโปรงคนอ้วนที่เป็นทรงเอดีกว่า จะช่วยพรางสะโพกได้ดี
4.  ถ้ารู้ว่ามีช่วงขาอ้วนจนเป็นส่วนเกิน ให้เลือกกระโปรงคนอ้วนทรงเอ ที่ยาวปกปิดได้
5.  ถ้าอยากใส่เสื้อผ้าคนอ้วนแล้วทำให้เราดูดีแบบคลาสสิก ควรใส่เสื้อผ้าคนอ้วนแบบสีเดียวหรือโทนใกล้เคียงกัน ดีกว่าใส่หลากสี
6.  เข็มขัดเป็นส่วนประกอบหรือเป็นเครื่องประดับเหมาะกับเสื้อผ้าคนอ้วนที่เราเลือกใส่ให้ได้เหมือนกัน อาจเลือกคาดเข็มขัดเส้นเล็ก ๆ ต่ำ ๆ ใต้สะโพก จะช่วยทำให้ไม่เน้นช่วงท้อง
7.  หากต้องการให้ดูรูปร่างเพรียวหรือสูงขึ้น อาจใส่รองเท้าคนอ้วนแบบส้นสูงเพราะช่วยทำให้ขาดูสูงและไล่ระดับไม่ตันไปหมด
8.  เนื้อผ้าแบบใส่สบายเป็นอีกหนึ่งปัจจัยที่สาวรูปร่างอ้วนชอบเลือกใส่เสื้อผ้าคนอ้วนที่มีเนื้อผ้าแบบนี้มากกว่าเนื้อผ้าแบบหนา ๆ
9.  หากไม่ต้องการให้เราดูพองฟู ควรหลีกเลี่ยงเสื้อผ้าคนอ้วนแบบที่มีระบายฟูฟ่อง หรือลูกไม้ห้อยระย้า
10. ประเภทกางเกง ควรหลีกเลี่ยง อย่าเลือกกางเกงแฟชั่นคนอ้วนที่มีกระเป๋ามาก หรือหลายใบ หรือมีที่ด้านหลังจะยิ่งทำให้ดูพองมากขึ้น
11. ควรเน้นเสื้อผ้าที่มีลวดลายตามยาว เพราะจะทำให้ตัวดูเพรียวขึ้นเป็นแนวยาว ควรหลีกเลี่ยงแนวขวางเพราะจะยิ่งทำให้ตัวดูขยายออกดูอ้วนกว่าเดิม
12. แบบเสื้อที่อยู่นอกกระโปรง เหมาะกว่าเสื้อที่ใส่สอดในกระโปรง และแขนเสื้อควรเป็นทรงตรง แต่ไม่แนบเนื้อเกินไป




3. ถ้านิสิตได้รับมอบหมายให้แต่งกายในวันเปิดตัวแถลงข่าววีดิทัศน์หนังสั้น นิสิตจะแต่งกายอย่างไร

ตอบ แต่งกายในวันเปิดตัวแถลงข่าววีดิทัศน์หนังสั้นควรเลือกชุดที่สุภาพเรียบร้อยสะอาดสะอ้านดูน่าเชื่อถือ ในฐานะที่เราเป็นนิสิต ก็ควรใส่ชุดนิสิตเพราะเป็นชุดที่เป็นทางการเป็นเครื่องแบบอันทรงเกียรติบอกถึงเอกลักษณ์ ความภาคภูมิในความเป็นปัญญาชนได้เป็นอย่างดี แถมยังได้ความภาคภูมิใจในสถาบันที่ศึกษาอยู่อีกด้วย
 

บุคลิกภาพในการนำเสนอ

บุคลิกภาพในการนำเสนอ


           บุคลิกภาพขณะนำเสนอ คือ สภาวะทุกอย่างของผู้นำเสนอ ทั้งสภาวะทางกายและจิตใจ ซึ่งมีอิทธิพลต่อการกระทำในระหว่างการนำเสนอ บุคลิกภาพที่ดีเป็นสิ่งสำคัญที่ทาให้เรามั่นใจในขณะพูด และทำให้ผู้ฟังเกิดความรู้สึกประทับใจ และสนใจติดตามฟัง โดยไม่รู้สึกเบื่อหรือง่วงนอนก่อนที่เราจะพูดจบ     บุคลิกภาพที่ดีในการนำเสนอนั้นประกอบด้วย...

-การแต่งกาย
-การใช้ภาษา
-การใช้เสียง/จังหวะการพูด
-การแสดงออกที่เหมาะสม

การแต่งกาย(Dressing)
การแต่งกายเป็นจุดแรกที่ดึงดูดสายตาผู้คน เครื่องแต่งกายเป็นตัวบ่งบอกถึงบุคลกิ นิสัย ความเป็นมืออาชีพทำให้ผ้ฟังรู้สึกประทับใจก่อให้เกิดทัศนคติที่ดีอยากติดตามฟัง

เทคนิคการแต่งกาย

ผม
 - เล็บตัดสั้น และมัดผมให้เป็นระเบียบเรียบร้อย
เครื่องประดับ
 - ควรมีแต่พอเหมาะ

เสื้อผ้า
- แต่งกายให้สะอาด สุภาพ เรียบร้อย สีเรียบ ไม่ฉูดฉาด
- แต่งกายให้เหมาะสมกับกาลเทศะและสถานที่
- ไม่ควรใส่ กระโปรงยาวหรือสั้นเกินไป(สำหรับสุภาพสตรี)

การใช้ภาษา
- ใช้ภาษาให้เหมาะกับกลุ่ม ผู้ฟัง
- ภาษาที่ใช้ต้องมีความชัดเจน
- ใช้ภาษาที่สุภาพ อักขระถูกต้องและเข้าใจง่าย
- กะทัดรัดได้ใจความ ไม่ใช้คำฟุ่มเฟือย

การใช้เสียง/จังหวะการพูด
-  เป็นธรรมชาติไม่ทุ่มหรือแหลมจนเกินไป
-  พูด ด้วยความเร็วที่เหมาะสม ไม่เร็วหรือช้าจนเกินไป
-  พูดให้ดังและชัดเจน ไม่ใช้ระดับเสียงเดียว
-  รู้จักการใช้เสียงสูงต่ำ ในการเน้นความหมายอย่างเหมาะสม
-  เว้นวรรคคำให้ถูกต้อง

การแสดงออกที่เหมาะสม


- การใช้สายตา (Eye Contact)
- ภาษากาย (Body Language)
- การนั่งนำเสนอ
- การยืนนำเสนอ
- มือ/แขน

การพูดในที่สาธารณะ

การพูดในที่สาธารณะ



1. ในการพูด สร้างบุคลิกภาพ
    1.1 ด้านภาพลักษณ์
    1.2 ด้านการพูด
    1.3 ด้านปฏิภาณไหวพริบและด้านจิตใจ

2. การเตรียมตัวก่อนการพูด
    2.1 เตรียมเนื้อหา 
    2.2 ฝึกซ้อม 
    2.3 การเตรียมใจ 

3. การใช้ไมโครโฟน (ไมค์)
    3.1 การจัดเตรียมไมค์  
    3.2 วิธีการจัดไมค์ที่ถูกต้องในการพูด

4. การวางท่าทางขณะพูด
    4.1 กรณีที่ยืนตรง 
    4.2 การวางมือ
    4.3 กวาดสายตาไปทั่วห้อง

5. เทคนิคการสร้างความสนใจจากผู้ฟัง
    5.1 การสร้างความคุ้นเคยกับ ผู้ฟัง
    5.2 การตั้งคำถามกับผู้ฟัง
    5.3 ควรมีการยกตัวอย่าง
    5.4 พูด ด้วยน้ำเสียงสูง ต่ำ
    5.5 มีการสอดแทรกมุกตลก
    5.6 มีการนำเสนอแบบหักมุม
    5.7 การใช้กิจกรรมที่ให้ผู้ฟังมีส่วนร่วม

6. เทคนิคการแนะนำประวัติวิทยากร
    6.1 กล่าวถึงความสำคัญของเนื้อหา
    6.2 กล่าวถึงความสำคัญของวิทยากร
    6.3 กล่าวถึงลักษณะเด่น
    6.4 กล่าวถึงประวัติการณ์ศึกษา
    6.5 กล่าวถึงตำแหน่งและชื่อสกุล ของวิทยากร
    6.6 เมื่อวิทยากรบรรยายจบ

7. ขั้นตอนการทำหน้าที่พิธีกรในช่วงพิธีการเปิดประชุม / ฝึกอบรม
    7.1 ไหว้แนะนำตัว
    7.2 กล่าวถึงความเป็นมา
    7.3 เมื่อประธานมาถึง
    7.4 เมื่อประธานพร้อม

เทคนิคการบรรยายให้มีประสิทธิภาพ
    - ตั้งวัตถุประสงค์ของการบรรยาย
    - กำหนดประเด็นของเนื้อหา
    - อธิบายวัตถุประสงค์ของแต่ละประเด็น
    - กำหนดเนื้อหา และตัวอย่างสำคัญของแต่ละประเด็น
    - การบรรยายแบบจูงใจผู้ฟัง
    - การเชื่อมต่อประเด็น
    - การสรุปประเด็น

วันพฤหัสบดีที่ 26 มกราคม พ.ศ. 2555

การแต่งกายและบุคลิกภาพเพื่อการนำเสนออย่างสร้างสรรค์

การแต่งกายและบุคลิกภาพเพื่อการนำเสนออย่างสร้างสรรค์



  การมีบุคลิกภาพที่ดี

- ต้องสุขภาพ
- ความสะอาด
- การยิ้ม

ความเป็นมาของการแต่งกาย


1. เป็นวัฒนธรรมของแต่ละชาติ
2. มีการปลูกฝังตั้งแต่ในครอบครัว


ความสำคัญของการแต่งกาย



1.สามารถสื่อสารได้
2.ช่วยเสริมบุคลิกภาพ


หลักการแต่งกายที่ดูดี มีเสน่ห์
  • เน้นความเป็นตัวของตัวเอง
  • สะอาด สุภาพ เรียบร้อย สวยงาม
  • รู้จักดัดแปลงแก้ไข
  • สร้างเอกลักษณ์ให้กับตนเอง

ทรงผม

  • การเลือกทรงผม
  • ความสะอาด
  • ความเรียบร้อย
  • เหมาะสม และดูดี

เสื้อผ้า

  • สุภาพ
  • ประณีต
  • สะอาด
  • ประหยัด